วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน....

ชื่อหน่วยงาน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน

เจตจำนง/ความมุ่งหมาย

ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกประเภทได้อย่างรวดเร็วปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้รับบริการพึงพอใจ…….

ขอบเขตบริการ

บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมผู้ป่วยทั้ง 4 ระดับ คือ ฉุกเฉินมาก ฉุกเฉิน ไม่ฉุกเฉิน และผู้ป่วยทั่วไป

ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทันที มิฉะนั้นจะตายหรือพิการอย่างถาวร ในระยะไม่กี่วินาที

ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องช่วยเหลือรองลงมาจาก ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษา ภายใน 1-2 ชั่วโมง อาจตายหรือพิการได้ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะรู้สึกตัวดี และไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค

ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องการการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม โดยขณะนั้นไม่มีภาวะฉุกเฉินคุกคามชีวิตของผู้ป่วย

ผู้ป่วยธรรมดาทั่วไป หมายถึง ผู้ป่วยที่มาขอรับยาต่อเนื่อง ทำแผลต่อเนื่อง ฉีดยาต่อเนื่อง ขอใบรับรองแพทย์

…………………………………………………….

(อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข?)

การคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินจ้า

KMการคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

พยาบาลคัดกรอง สมรรถนะ หน้าที่ ขั้นตอนการปฏิบัติ และประเมินผล

การคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน นี้เป็นการทำงานช่วงต้นของการบริการในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งรับผิดชอบโดยพยาบาล จึงเรียกว่าพยาบาลคัดกรอง แท้ที่จริงแล้ว มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งคำว่า Triage ซึ่งแปลเป็นไทยว่า"คัดแยก" แต่ก็ไม่เห็นโรงพยาบาลใด เรียกพยาบาล ว่าพยาบาลคัดแยก จึงขอใช้ ว่าพยาบาลคัดกรองตามที่นิยมกัน น่าจะดีกว่า

ทำไมต้องคัดกรองผู้ป่วย เพราะที่ฉุกเฉินต้องด่วนอยู่แล้ว

เป็นเพราะว่า โดยปกติแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการจะ มากกว่าแพทย์/พยาบาล

จึงจำเป็นต้องลำดับว่าใครด่วนมากที่สุด ที่ต้องพบ แพทย์ก่อน

การคัดกรองผู้ป่วย

พยาบาลมีสมรรถนะอย่างไร? มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

เครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ที่ทำงานตั้งแต่1-20ปี

สมรรถนะของพยาบาลคัดกรอง เช่น มีความรู้เรื่องโรคและอาการฉุกเฉินต้องดี อย่างเช่น โรคที่พบบ่อย5-10 อันดับแรก มีประสบการณ์ที่ห้องฉุกเฉินอย่างน้อยต้อง2ปีขึ้นไป พยาบาลต้องผ่านการอบรมการกู้ชีพเบื้องต้นและขั้นสูง และที่สำคัญมีมนุษยสัมพันธภาพ การสื่อสารที่ดี และมีความอดทน

การปฏิบัติการคัดกรอง

1.พยาบาลจะประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอะไร และเดินได้หรือไม่ โดยแยกประเภท เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1Emergency=ฉุกเฉิน ต้องพบแพทย์ทันที หรือภายใน4นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีแดง กลุ่มที่2Urgent=รีบเร่ง รอได้จะจัดให้พบแพทย์ภายใน30นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีเหลือง กลุ่มที่3 Non urgent=ไม่รีบเร่ง อาจให้ข้อมูลให้ไปตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก แต่หากนอกเวลาราชการ จะตรวจที่แผนกฉุกเฉินต้องรอเป็น1ชั่วโมงหรือมากกว่าจนกว่าจะตรวจผู้ป่วยกลุ่ม1และกลุ่ม2เสร็จก่อน เหมือนสัญญาณไฟจราจร*บางที่อาจแบ่งเป็น4กลุ่ม โดยเพิ่มกลุ่ม Semi Urgent=กึ่งรีบเร่ง*ทำให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น

2.พยาบาลต้องวัดสัญญาณชีพในขั้นตอนที่ 2 เป็นยืนยันด้วยหลักฐานว่าการคัดกรองนั้นตามเกณฑ์ทางการแพทย์ อย่าลืมบันทึกไว้ด้วยในบัตรตรวจโรค เป็นการสื่อสารให้แพทย์ทราบ

3.พยาบาลจะต้องร่วมทีมปฐมพยาบาลหลังจากวินิจฉัยว่ามีอาการรบกวนหรือจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่ม1ต้องช่วยกู้ชีพ แก้ภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้น ต้งส่งสัญญาณให้พยาบาลห้องตรวจรับช่วงต่อด้วย

ชุมชนคนฉุกเฉินจ้า

ทีมงานดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินจ้า
ห้วหน้า พี่ต๋องคนเก่ง
พี่รอง พี่หนึ่งและพี่น้อย
พี่ไก่
น้องไหม
น้องเม
น้องป๋อม
น้องเล็ก
พี่ผู้ช่วยฯ พี่ๆ EMT พี่เปล
ให้บริการดูแลผู้ฉุกเฉิน 24 ชม.